หัวข้อทางคณิศาสตร์

หัวข้อทาง คณิตศาสตร์
          โดยหัวข้อทางคณิตศาสตร์ต่อไปนี้ เป็นลักษณะหนึ่งของการแบ่งย่อยของหัวข้อทางคณิตศาสตร์เท่านั้น สำหรับการแบ่งหัวข้อตาม 2000 Mathematics Subject Classification ได้ดังนี้

  • ปริมาณ  เกี่ยวข้องกับการวัดขนาดของตัวเลข เซต หรือว่าวิธีการวัดค่า ประกอบด้วย จำนวน จำนวนธรรมชาติ จำนวนตรรกะ จำนวนจริง จำนวนเชิงซ้อน
  • โครงสร้าง ศึกษาขนาดและสมการของจำนวนและวัตถุทางคณิศาสตร์  ประกอบด้วย  ทฤษฎีจำนวน พีชคณิตนามธรรม ทฤษฎีรูป ทฤษฎีลำดับ
     
  • ความสัมพันธ์เชิงปริภูมิ ใช้วิธีการเชิงรูป เช่น เรขาคณิต ตรีโกณมิติ ประกอบด้วย เรขาคณิต ตรีโกณมิติ ทอพอโลยี เรขาคณิตสาธิสรูป
  • ความเปลี่ยนแปลง ศึกษาเกี่ยวกับการวัดความเปลี่ยนแปลงของฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ และความเปลี่ยนแปลงระหว่างจำนวน ประกอบด้วย แคลคลูลัส แคลคลูลัสเวกเตอร์ สมการเชิงอนุพันธ์ ทฤษฎีความอลวล
  • พื้นฐานและวิธีการ แนวทางเข้าถึงคณิศาสตร์ วิธีที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ตรรกศาสตร์ ทฤษฎีเซต ตรรกศาสตร์สะญลักษณ์
  • วิยุตคณิต คือแขนงของคณิตศาสตร์ที่สนใจวัตถุที่มีค่าเจาะจงที่แตกต่าง เช่น คณิตศาสตร์เชิงจัด ทฤษฎีการคำนวณ วิทยาการเข้าระหัสลับ ทฤษฎีกราฟ
  • คณิตศาสตร์ประยุค คือการใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาในโลกของความจริง ประกอบไปด้วย คณิศาสตร์ฟิสิกส์ กลศาสตร์ของใหล ความน่าจะเป็น สถิติศาสตร์ 


คณิตศาสตร์

คณิตศาสตร์

              คำว่า "คณิตศาสตร์" อ่านว่า คะ-นิด-ตะ-สาด มาจากคำว่า  คณิต คือการนับและการคำนวณ และ ศาสตร์ หมายถึง ความรู้ การศึกษา เมื่อรวมกันก็จะหมายถึง วิชาของการคำนวณ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า mathematics
           ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ผ่านทางการวิจัยและการประยุกต์ใช้ คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมืออันหนึ่งของวิทยาศาสตร์ แต่หลายคนให้ความเห็นว่า คณิตศาสตร์ไม่มีการทดลองจึงไม่จัดเป็นวิทยาศาสตร์ 

           องค์ความรู้ในทางคณิตศาสตร์รวมกันเป็นสาขาวิชา หลักการที่เริ่มจากเลขคณิต ไปประยุคใช้เป็นพื้นฐานในสาขาวิขาคณิตศาสตร์ ทั้ง เรขาคณิต พีชคณิต ตรีโกณมิติ สถิติศาสตร์ หรือแม้แต่ แคลคลูลัส เป็นแกนหลักในวิชาคณิศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่พบในหลักสูตร สาขาวิชาคณิตศาสตร์จัดเป็นวิชาเดี่ยว ที่มีลักษณะแต่งต่างจากสาขาวิชาอื่นอย่างเห็นได้ชัด

          นักวิทยาศาสตร์หลายๆคนมองคณิตศาสตร์เป็นศาสตร์เชิงศิลปะ ดังที่ จี.เอช.ฮาร์ดี กล่าวใว้ว่า แรงผลักดันในงานเช่นนี้ไม่ต่างไปจากกวีและนักปรัชญาได้ประสบ และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้



          ในทีนี้ได้อธิบายหัวข้อทางคณิตศาสตร์แบบ 2000 Mathematics Subject Classification

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ค้นหาบล็อกนี้